วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 สุขภาพกับการใช้เทคโนโลยี

เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์


.เทคโนโลยีทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน
              เทคโนโลยีทางสุขภาพหมายถึง การรวบรวมความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพใน การดูแล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายทั้งนี้เพื่อให้บุคคลหรือชุมชนมีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิต ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก 
              ๑.๑คุณค่าของเทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพมีคุณค่าต่อวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในภาพรวม ดังนี้ 
                   ๑.ด้านคุณภาพชีวิต  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนั้น ช่วยให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย
                   ๒.ด้านประสิทธิภาพของงาน  การนำเทคโนโลยีทางสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
                   ๓.ด้านประสิทธิผลของผลผลิต  เทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่วยให้การศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักวิชาการทางสุขภาพในหลากหลายสาขาวิชา สามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว
                   ๔.ด้านความประหยัด  การใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการทำงาน รวมถึงช่วยให้บุคคลสามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว
              ๑.๒ ประเภทของเทคโนโลยีทางสุขภาพ 
                   ๑.เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ  เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยสามารถแบ่งออกได้ ๕ ประเภท ดั้งนี้
                   ๑.๑เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
                   ๑.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร
                   ๑.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา
                   ๑.๔เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องมือแพทย์
                   ๑.๕เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสุขภาพ
              ๒.เทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการสุขภาพ เป็นเทคโนโลยีเพื่อการให้บริการสุขภาพ
ซึ่งแบ่งออกได้ ๓ ประเภท ดังนี้ 
                   ๒.๑ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจและรักษาโรค
                   ๒.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับการป้องกันโรค
                   ๒.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
              ๓.เทคโนโลยีเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๑เทคโนโลยีการพิมพ์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๒เทคโนโลยีคมนาคมเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๓เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
.ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นประเด็นทางสุขภาพ
              ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางสุขภาพได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราอย่างมาก โดยจะขอยกตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นทางสุขภาพมานำเสนอเป็นบางประเด็น ดังนี้ 
              ๒.๑ผลิตภัณฑ์ GMOs
                   ในร่างกายของคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทีรย์นั้น มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ เช่น ทำให้มีตาสีฟ้า ตาสีดำ เป็นต้น 
ซึ่งหน่วยพันธุกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยีน(gene)  โดยยีนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ DNA 
              ๑.ประโยชน์ของ GMOs
ประโยชน์ของการตัดต่อพันธุกรรมมีหลายประการ ดังนี้ 
              ๑.ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความสามารถในการต้านแมลงและโรคได้ดีขึ้น
              ๒.ช่วยในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีคุณภาพผลผลิตที่พึ่งประสงค์
              ๓.นำไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์สัตว์
              ๔.นำไปใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีคุณสมบัติพิเศษ
              ๒.ข้อควรระวังเกี่ยวกับ GMOs  เทคโนโลยีทุกอย่างนั้น เมื่อมีประโยชน์ก็มักจะมีโทษด้วยเสมอ พันธุวิศวกรรมที่นำมาใช้ตกแต่งสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็เช่นกันอาจมีผลกระทบทางลบด้วยหากกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
              ๓.การควบคุมผลิตภัณฑ์ GMOs ดังนี้
                   ๑.ให้มีการจดทะเบียน
                   ๒.การปล่อย GMOs เข้าสู่สิ่งแวดล้อม
                   ๓.การกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
                   ๔.การทำการตลาดผลิตภัณฑ์จาก GMOs ที่ใช้เป็นอาหารต้องผ่านการดูแล
              ๒.๒คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
                   สังคมไทยในสมัยปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน 
แนวทางการป้องกันกลุ่มเสี่ยง 
              ๑.ให้ความเอาใจใส่
              ๒.แบ่งเวลาสำหรับพูดคุยกันในแต่ละวัน
              ๓.ให้คำแนะนำด้วยความเข้าอกเข้าใจ แสดงออกถึงความห่วงใย
              ๔.สอดแทรกความรู้ถึงผลกระทบจากการใช้
              ๕.กระตุ้นให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมภายในครอบครัวมากขึ้น
              ๖.ส่งเสริมให้เด็กมีงานอดิเรกทำ
              ๗.ศึกษาวิธีการใช้สื่อต่างๆที่ปลอดภัยและเหมาะสม
.ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
              จากความเจริญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้ามา ตามลำดับ ซึ่งช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิตได้สุขสบายมากขึ้น เดินทางและสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว มีเครื่องมือทันสมัยต่างๆ ใช้อำนวยความสะดวกแต่ขณะเดียวกันเราก็อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมลงก่อให้เกิดมลพิษ ดังนี้ 
              ๑.มลพิษทางอากาศ
              ๒.ปัญหาขยะมูลฝอย
              ๓.ภาวะมลพิษทางดิน
              ๔.ปัญหามลพิษทางน้ำ
.การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ
              ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางสุขภาพจะมีคุณค่าในการช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ตาม แต่หากมนุษย์ไม่รู้จักตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพให้เหมาะสมและถูกต้อง อันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ จึงควรมีหลัก ดังนี้
              ๑.ศึกษาข้อมูลของเทคโนโลยีทางสุขภาพต่างๆ
              ๒.ปฏิบัติตามขั้นตอนในการใช้อย่างถูกต้อง
              ๓.คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการนำเทคโนโลยีทางสุขภาพไปใช้
              ๔.พิจารณาถึงคุณภาพของการผลิตและการนำไปใช้งาน
              ๕.คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ
              ๖.พิจารณาถึงราคา ค่าใช้จ่าย
              ๗.เทคโนโลยีนั้น ควรมีความสะดวกและวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
              ๘.ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางสุขภาพด้วยความระมัดระวัง
              ๙.ควรคำนึงถึงคุณธรรมและความถูกต้องเหมาะสมในการใช้
.ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ
              วิวัฒนาการทางการแพทย์ของไทยนั้น มีการพัฒนามาตามลำดับ นับจากการใช้การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่สมัยอดีตในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและเมื่อมีการเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก ก็ได้มีการนำการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย 
              ๕.๑ระบบการแพทย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในประเทศไทยปัจจุบันนั้น เมื่อกล่าวถึงระบบการแพทย์ จะมีการจำแนกออกได้เป็น ๓ ประเภทคือ การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์กระแสหลัก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์ทางเลือก 
              ๕.๒หลักในการพิจารณาเลือกใช้บริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม
จากการจำแนกประเภทของบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่พบในประเทศไทยออกเป็น 
๓ ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั้น พบว่ามีผลกระทบต่อรูปแบบของการเลือกใช้บริการและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม  การแพทย์ควรยึดหลักสำคัญ ๔ ประการดังนี้
              ๑.หลักของความน่าเชื่อถือ
              ๒.หลักของความปลอดภัย
              ๓.หลักของการมีประสิทธิผล
              ๔.หลักของความคุ้มค่า

ประเด็นสุขภาพที่โลกกำลังจับตามอง (Global spotlight on health) หรือแนวโน้มงานการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion Trends) ต่อไปนี้ คือ 5 แนวโน้มที่จะ เปลี่ยนโฉมหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในปีค.ศ. 2013


1. สุขภาพเคลื่อนที่ได้ (Mobile Health) ภาคส่วนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ นำเสนอคำสัญญาให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากที่สุด มันไม่ได้เกินเลยที่จะกล่าวว่าการถือครองของอุปกรณ์ที่มีแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพในมือถือประเภทสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต ของบรรดาแพทย์และผู้บริโภคเป็นดั่งกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง จากการสำรวจของ Pricewaterhouse Coopers (PwC) และจากแพทย์ทั้งในประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก โดยคร่าว ๆ ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทำนายว่าภายในสามปีข้างหน้าสุขภาพแบบเคลื่อนที่ได้นี้จะช่วยปรับปรุงความสะดวกสบาย (ร้อยละ 46) มีต้นทุนลดลง (ร้อยละ 52) และคุณภาพ (ร้อยละ 48) ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ

2. บันทึกเวชระเบียนส่วนตัว (Personal health records) จะมาในรูปแบบของ เวชระเบียนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้  เครื่องมือนี้จะเชื่อมเวชระเบียนส่วนตัวเข้ากับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนกลาง ยกตัวอย่างข้อมูลที่จะมีก็คือ สถิติจำนวนประชากร อาการแพ้ต่าง ๆ ยา สัญญาณการเจ็บป่วย ประวัติครอบครัวและสังคม  กระบวนการ การทดสอบจากห้องทดลอง  และแผนการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

3. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบดูแลรักษาสุขภาพใหญ่ ๆ หลายแห่ง ได้สร้างสัมพันธ์กับบริษัทให้บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อจัดหาให้บริการแก่แพทย์ในเรื่องโทรศัพท์และการให้คำปรึกษาผ่านระบบวิดีโอ 

4. เหล่าผู้ให้บริการจัดทำเวชระเบียนอิเลกทรอนิกส์ จะประสบกับภาวะที่ต้องอยู่ให้ได้ในภาวะ   การแข่งขันทางการตลาดที่สูง ผู้ให้บริการที่กระโจนลงไปเล่นในธุรกิจนี้เร็วเกินไป และไม่สามารถให้บริการ ตามที่ได้สัญญาไว้ ก็จะประสบกับความไม่แน่นอนทางธุรกิจ กลับกันสำหรับบริษัทที่อยู่รอดได้ก็จะพัฒนาต่อไปได้ และในที่สุดก็จะปรับปรุงให้บริการการดูแลแก่ผู้ป่วย

5. วิเคราะห์วิทยาด้านการแพทย์ (Clinical Analytics) ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ตามไม่ทันวิเคราะห์วิทยาด้านการแพทย์ที่เป็นสาระหนัก ๆ หลาย ๆ ระบบสามารถแพร่กระจายรายงานที่ง่าย ๆ แต่มันไม่เพียงพอที่จะตอบรับกับอุปสงค์ของผู้ให้บริการเพื่อให้ตอบโจทย์กฎข้อบังคับของรัฐบาล ในเรื่องความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันและผลงานด้านการแพทย์ 

นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ: เทคโนโลยีเพื่อการรักษากระดูก

ในหลายปีมานี้ เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีส่วนอย่างมากในชีวิตของเราไม่เว้นแม้แต่เรื่องของสุขภาพBetter Health ฉบับนี้นำคุณไปพบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัยกับการรักษาโรคกระดูกซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ด้วยผลการรักษาที่ดีขึ้นขณะที่ผลข้างเคียงน้อยลง




การป้องกันตนเองและผู้อื่น

สิทธิและความรับผิดชอบแห่งศตวรรษที่ 21

essay writingterm papersonline paper writerbuy essayพลเมืองที่ดีคือพลเมืองที่เข้าใจในสิทธิและความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ดี พลเมืองดิจิทัลเองก็ต้องตระหนักถึงสิทธิและความรับผิดชอบของตนเช่นเดียวกัน เพียงแต่สิทธิและความรับผิดชอบในยุคดิจิทัลได้ถูกตีความและต่อยอดให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 

สิทธินั้นหมายถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลมีพันธะหน้าที่ต้องปกป้องและส่งเสริม สิทธิบางอย่างถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายระดับประเทศ ขณะที่สิทธิบางประการถูกรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการเรื่องอิสรภาพ ความเท่าเทียม และความเสมอภาค เช่น เสรีภาพในการแสดงความเห็น เสรีภาพในการรวมกลุ่มและการสมาคม เสรีภาพสื่อ เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ดี สิทธิมีข้อจำกัดและต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบในการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและหลักจริยธรรม เช่น การเคารพสิทธิ ความเชื่อ และความเห็นของผู้อื่น 

 

สิทธิของพลเมืองดิจิทัล

 

สิทธิของพลเมืองในยุคดิจิทัลนั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดจากหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีองค์กรจำนวนมากที่ผลักดันสิทธิดังกล่าว เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) สภายุโรป (Council of Europe) แนวทางด้านสิทธิในคู่มือฉบับนี้อ้างอิงจากกฎบัตรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานสำหรับอินเทอร์เน็ต (Charter of Human Rights and Principles for the Internet) และข้อเสนอว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของสภายุโรป1

 

สิทธิในการเข้าถึงและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

สิทธิในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับมนุษย์ทุกคน บางประเทศ เช่น ฟินแลนด์และเอสโตเนีย กำหนดให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่เพียงช่วยเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมให้กับผู้ใช้ แต่ยังเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานหลายอย่าง อาทิ เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการสมาคมและชุมนุมโดยสันติ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐบาล 

การเข้าไม่ถึงหรือถูกตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นส่งผลกระทบถึงโอกาสและสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ สิทธิในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยไม่ถูกตัดการเชื่อมต่อหรือถูกเลือกปฏิบัติจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) หรือผู้ให้บริการเนื้อหาออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่บนฐานของอะไรก็ตาม เช่น เพศ ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง จึงถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในยุคดิจิทัล ยกเว้นแต่กรณีที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายชัดเจน กระทบกับสิทธิของผู้อื่น หรือส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกรณีที่มีการผิดสัญญาไม่จ่ายเงินค่าบริการอินเทอร์เน็ต (แต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพีควรใช้มาตรการตัดสัญญาณเป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้น) หรือกรณีที่พ่อแม่ผู้ปกครองควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและผู้เยาว์ให้เหมาะสม 

หากมีการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไอเอสพีควรแจ้งผู้ใช้ให้ทราบถึงเหตุผลและข้อกฎหมายที่ใช้เป็นฐานในการตัดอินเทอร์เน็ต รวมถึงแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงกระบวนการร้องเรียนและคำขอให้มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 

สิทธิในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ดิจิทัลเพื่อคนทั้งมวล

ดิจิทัลเพื่อคนทั้งมวลคือแนวคิดที่เรียกร้องให้คนทุกคนมีสิทธิเข้าถึง รวมถึงใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลและช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายในฐานะเครื่องมือสำคัญในชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสาร การเข้าถึงความรู้ การทำธุรกรรม   

รัฐบาลควรดำเนินมาตรการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง ราคาไม่แพง ปลอดภัย มีคุณภาพเชื่อถือได้ และรองรับกลุ่มคนที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีรายได้น้อย เป็นคนกลุ่มน้อยของสังคม หรือต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการ 

นอกจากนั้น รัฐบาลควรจัดให้มีจุดบริการอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง เช่น ศูนย์กลางชุมชน ห้องสมุด โรงเรียน คลินิก รวมทั้งคำนึงถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ซึ่งทวีความสำคัญมากขึ้นในยุคที่คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ

  • คุณภาพบริการ 

คุณภาพบริการขั้นต่ำซึ่งประชาชนควรเข้าถึงได้นั้นต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เรียกร้องการใช้ข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการเข้าถึงจะต้องมีราคาถูกและมีความเท่าเทียมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในกรุงเทพฯ ที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้ในโรงเรียน กับนักเรียนต่างจังหวัดที่ใช้เน็ตได้เฉพาะที่ห้องสมุดโรงเรียน แม้ทั้งคู่จะเข้าถึงเน็ตได้เหมือนกัน แต่โอกาสจากการเรียนรู้นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

  • เสรีภาพในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่น และระบบปฏิบัติการ

การเข้าถึงยังครอบคลุมถึงเสรีภาพในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่น และระบบปฏิบัติการตามที่เราต้องการ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อโครงสร้างการสื่อสารและโปรโตคอลทำงานข้ามระบบได้ รวมถึงรักษามาตรฐานแบบเปิด (open standard) เอาไว้ นอกจากนั้นอินเทอร์เน็ตจะต้องเปิดให้ทุกคนมีสิทธิในการสร้างสรรค์เนื้อหา แอปพลิเคชั่น และบริการต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบหรือผ่านการรับรองจากผู้มีอำนาจ

  • ความเป็นกลางของเครือข่าย 

สถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ตต้องได้รับการปกป้องให้มีความเป็นกลาง หรือที่เรียกว่าความเป็นกลางของเครือข่าย (net neutrality) กล่าวคือต้องมีลักษณะเปิด เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นแพลตฟอร์มในการนำเสนอเนื้อหาและบริการออนไลน์อย่างเป็นกลาง ไม่มีใครได้สิทธิพิเศษ

 

เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการเข้าถึงข้อมูล

มาตราที่ 19 ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนบัญญัติไว้ว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก สิทธิดังกล่าวรวมถึงเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และสิทธิในการแสวงหา รับ ส่งต่อข้อมูลและแนวคิดผ่านสื่อใดๆ และโดยไม่ต้องคำนึงถึงพรมแดน” เสรีภาพดังกล่าวครอบคลุมถึงการแสดงความเห็นในโลกอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน 

เสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิทธิที่มีความสำคัญต่อสังคมประชาธิปไตยและการพัฒนาของมนุษย์ หลักการสากลยืนยันถึงสิทธิในการแสดงตัวตน มุมมอง ความคิด ความเห็น รวมทั้งสิทธิในการเข้าถึงและเผยแพร่ข้อมูล/ความเห็นของผู้อื่นบนโลกออนไลน์ได้อย่างเสรี เสรีภาพดังกล่าวครอบคลุมถึงการพูดทางการเมือง มุมมองทางศาสนา ความเห็นและการแสดงออกที่ไม่สร้างความขุ่นเคือง และอาจรวมถึงการแสดงออกที่อาจสร้างความขุ่นเคืองและสร้างความรำคาญใจให้กับผู้อื่นด้วย ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กับเงื่อนไขอื่นๆ เช่น กฎหมายและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ

แน่นอนว่าเสรีภาพในการแสดงความเห็นไม่ใช่สิทธิที่ไร้ข้อจำกัด และต้องคำนึงถึงสิทธิอื่นๆ เช่น สิทธิในการปกป้องชื่อเสียงและความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น รวมถึงผลประโยชน์สาธารณะด้วย เช่น เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย อย่างไรก็ดี การแทรกแซงเสรีภาพในการแสดงออกต้องได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมายด้วย โดยกฎหมายนั้นต้องกำหนดขอบเขตข้อห้ามให้ชัดเจนและวางกรอบให้แคบเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและกำกับพฤติกรรมการแสดงความเห็นได้อย่างถูกต้อง รวมถึงต้องไม่ทำโดยเลือกปฏิบัติ มีเหตุผลอันชอบธรรมตามหลักสากล ขอบเขตการแทรกแซงต้องเหมาะสม อีกทั้งยังต้องมีกลไกในการแจ้งให้ผู้ที่ถูกแทรกแซงสิทธิเสรีภาพทราบถึงสิทธิในการร้องเรียนให้มีการแก้ไข

สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและเข้าถึงข้อมูลครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • เสรีภาพจากการเซ็นเซอร์

ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการใช้อินเทอร์เน็ตโดยปราศจากการเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ การคุกคามข่มขู่การแสดงออกผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นถือเป็นการละเมิดเสรีภาพ

การเซ็นเซอร์ผ่านการบล็อกและฟิลเตอร์ โดยเฉพาะการบล็อกเนื้อหาล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ประชาชนทั้งหมดเข้าถึงได้นั้น ถือเป็นการเซ็นเซอร์ที่ขาดความชอบธรรม เว้นแต่เนื้อหาเฉพาะนั้นๆ ถูกตัดสินว่าผิดกฎหมายและผ่านกระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายแล้ว นอกจากนั้น มาตรการใดๆ ที่ใช้ในการบล็อกเนื้อหาเฉพาะนั้นๆ จะต้องทำภายใต้ขอบเขตที่จำกัดที่สุด และไม่ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลอื่นๆ ได้ เช่น หากพบว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมายในเว็บบอร์ด มาตรการการบล็อกก็ควรจำกัดที่กระทู้ที่ผิดกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่ปิดกั้นการเข้าถึงทั้งเว็บบอร์ด 

ตัวกลาง เช่น ไอเอสพี ไม่ควรถูกกดดันหรือบังคับโดยกฎหมายให้นำเนื้อหาออก บล็อกเนื้อหา หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ หากเนื้อหาดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นรัฐยังมีหน้าที่คุ้มครองและเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการสื่อสารของประชาชน ซึ่งรวมถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การออกกฎหมายเพื่อป้องกันการดักฟังและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

ไอเอสพี รวมถึงผู้ให้บริการเนื้อหาและผู้ให้บริการออนไลน์ ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก กระนั้นก็ตาม ผู้ให้บริการเนื้อหาและบริการออนไลน์บางรายอาจมีนโยบายห้ามเนื้อหาและพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ประทุษวาจา ภาพอนาจาร แต่ต้องทำภายใต้หลักเกณฑ์ที่ไม่ละเมิดหลักสากล รวมถึงมีกระบวนการที่โปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล และเปิดช่องทางให้มีการตรวจสอบการบล็อกหรือฟิลเตอร์เนื้อหา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ใช้ตัดสินใจว่าจะเลือกใช้บริการออนไลน์นั้นๆ หรือไม่ 

  • สิทธิในข้อมูล

ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการค้นหา เข้าถึง และส่งต่อข้อมูลและความคิดผ่านอินเทอร์เน็ต 

เรามีสิทธิเข้าถึงและใช้ข้อมูลของรัฐบาล โดยรัฐบาลควรดำเนินการเปิดเผยข้อมูลในเวลาอันเหมาะสมและในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงและนำไปใช้ต่อได้ง่าย นอกจากนั้นเรายังสามารถแชร์งานและสร้างสรรค์งานจากการปรับเปลี่ยนงานต้นฉบับของผู้อื่น แต่สิทธิดังกล่าวต้องพิจารณาควบคู่กับสิทธิของผู้ผลิตงานต้นฉบับที่จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยระบบลิขสิทธิ์ต้องไม่บั่นทอนศักยภาพของอินเทอร์เน็ตในการสร้างสรรค์และต่อยอดเนื้อหา ซึ่งหลักการสำคัญในการพิจารณาคือ หลักการใช้อย่างเป็นธรรม (fair use)

โครงการคอมมอนเซนส์เอดูเคชั่น สรุปหลักการและตัวอย่างการนำผลงานไปใช้ที่เข้าข่าย “การใช้อย่างเป็นธรรม” ตามภาพด้านล่าง 

 

ภาพที่ 1: หลักการและตัวอย่างการใช้อย่างเป็นธรรม2 

 

 

นอกจากเราจะมีสิทธิในการใช้ผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่นตามหลักการใช้อย่างเป็นธรรมแล้ว หากผลงานสร้างสรรค์อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) เราก็สามารถนำผลงานนั้นไปใช้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของผลงาน แต่ต้องใช้ภายใต้ขอบเขตการอนุญาตที่เจ้าของกำหนด เช่น ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า ห้ามดัดแปลง ครีเอทีฟคอมมอนส์จะช่วยส่งเสริมการเผยแพร่ การใช้ และการต่อยอดผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ของเราเอง (หากเราเลือกใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์กับงานของเรา) ซึ่งช่วยสร้างเนื้อดินที่เหมาะกับการเติบโตของวัฒนธรรมเสรีในโลกอินเทอร์เน็ต 

 

 

สิทธิในการชุมนุมและการสมาคมออนไลน์ 

มาตรา 20 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนบัญญัติว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมได้” หลักการดังกล่าวประยุกต์ใช้กับโลกอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราทุกคนจึงมีสิทธิในการชุมนุมและสมาคมผ่านอินเทอร์เน็ต

เราทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกใช้เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น หรือบริการออนไลน์ใดๆ เพื่อการจัดตั้ง ขับเคลื่อน และมีส่วนร่วมในการชุมนุมหรือการสมาคม เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยการมีส่วนร่วมดังกล่าวผ่านอินเทอร์เน็ตจะต้องไม่ถูกบล็อกหรือฟิลเตอร์

เรามีสิทธิในการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและตรวจสอบกระบวนการกำหนดนโยบายและกฎหมายทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก เช่น การจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ผู้สนใจติดตามประเด็นการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต พูดคุยแลกเปลี่ยน หรือใช้เว็บไซต์ Change.org ล่ารายชื่อเพื่อยื่นคำร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 

ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อขับเคลื่อนและมีส่วนร่วมในการประท้วงทั้งในโลกออนไลน์และโลกจริง อย่างไรก็ดี สิ่งที่คุณควรตระหนักคือ หากการประท้วงนำไปสู่ความรุนแรง การทำลายทรัพย์สิน หรือทำความเสียหายให้กับระบบอินเทอร์เน็ต คุณอาจต้องเผชิญกับปัญหาทางกฎหมาย

อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับประชาชนในการมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตย ดังนั้นรัฐจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลในกระบวนการประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) หรือการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ซึ่งให้บริการงานภาครัฐผ่านเครือข่ายออนไลน์มากขึ้น 

 

สิทธิในความเป็นส่วนตัวและในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

มาตรา 12 ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนบัญญัติว่า “บุคคลใดจะถูกแทรกแซงในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงตามอำเภอใจหรือโดยผิดกฎหมายไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น” 

ในโลกดิจิทัลที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้มากมาย พลเมืองมีสิทธิเรียกร้องชีวิตส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต รวมถึงความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารถึงกัน นอกจากนั้น พลเมืองมีสิทธิรับรู้ว่าข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้างที่ถูกบันทึกไว้ จะถูกใช้อย่างไร และเราจะจัดการอะไรกับมันได้บ้าง 

สิทธิในความเป็นส่วนตัวครอบคลุมสิทธิต่างๆ ดังนี้

  • การออกกฎหมายความเป็นส่วนตัว

รัฐมีพันธะหน้าที่ในการจัดทำและบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดยกฎหมายดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลและมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค และต้องระบุถึงการป้องกันการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยรัฐและบริษัทเอกชนด้วย

เจ้าหน้าที่รัฐและบริษัทเอกชนมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและกระบวนการในการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคล การเก็บ ใช้ เปิดเผย และรักษาข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องทำโดยโปร่งใสและได้มาตรฐาน และการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน พลเมืองทุกคนมีสิทธิรับรู้ว่ามีข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้างที่ถูกนำไปใช้หรือส่งต่อให้กับบุคคลที่สามด้วยวัตถุประสงค์อะไร รวมถึงมีสิทธิควบคุมข้อมูลส่วนตัวของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง ตรวจสอบความถูกต้อง การกู้คืน การขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคล และมีสิทธิได้รับแจ้งเมื่อข้อมูลของตนถูกส่งต่อให้บุคคลที่สาม ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หาย หรือถูกขโมย

เมื่อผู้ให้บริการออนไลน์หรือหน่วยงานรัฐมีความจำเป็นต้องขอข้อมูลส่วนบุคคล ควรเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นจริงๆ และต้องเก็บภายในระยะเวลาที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น โดยเมื่อใช้ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องลบข้อมูลนั้นทิ้ง 

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรอิสระที่สามารถทำงานอย่างโปร่งใสโดยปราศจากอิทธิพลทางการเมืองหรือผลประโยชน์เชิงพาณิชย์

  • นโยบายและการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ผู้ให้บริการออนไลน์ต้องประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ชัดเจนและให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวต้องทำได้ง่าย ครอบคลุมรอบด้าน และคำนึงผลประโยชน์ของผู้ใช้เป็นหลัก เช่น การตั้งค่าตั้งต้นให้ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ให้มากที่สุด แล้วหากผู้ใช้ต้องการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น ก็ให้เป็นทางเลือกของผู้ใช้เอง (ไม่ใช่ตั้งค่าตั้งต้นให้เปิดเผยข้อมูล แล้วค่อยให้ผู้ใช้เลือกปิดได้ในภายหลัง)

ผู้ให้บริการออนไลน์ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทุกครั้งหากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้บริการ โดยเฉพาะนโยบายการเก็บข้อมูลผู้ใช้และการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว 

  • มาตรฐานการรักษาความลับและบูรณภาพของระบบ

ระบบไอทีต้องมีมาตรฐานการรักษาความลับ (confidentiality) และบูรณภาพของระบบ (integrity หมายถึงการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์อันตรายเข้ามาปรับเปลี่ยนข้อมูลหรือไฟล์ของเราได้) เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าสู่ระบบโดยปราศจากความยินยอม

  • การคุ้มครองตัวตนออนไลน์

ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะสร้างตัวตนในโลกออนไลน์และได้รับความเคารพในตัวตนนั้นๆ ซึ่งรวมถึงการเลือกไม่เปิดเผยตัวตนแท้จริง ทว่าสิทธิดังกล่าวจะต้องไม่ถูกใช้ในทางที่ผิดหรือเป็นภัยต่อผู้อื่น นอกจากนั้น ข้อมูลการพิสูจน์ตัวตน เช่น ลายเซ็นดิจิทัล รหัสผ่าน พินโค้ด จะต้องไม่ถูกนำไปใช้หรือเปลี่ยนแปลงโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของ

  • สิทธิในการไม่เปิดเผยตัวและใช้การเข้ารหัส

พลเมืองทุกคนมีสิทธิในการสื่อสารแบบนิรนามในโลกออนไลน์ และมีสิทธิในการใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และการสื่อสารแบบนิรนาม

  • เสรีภาพจากการสอดแนม

พลเมืองทุกคนมีเสรีภาพที่จะสื่อสารโดยปราศจากการสอดแนมตามอำเภอใจในโลกออนไลน์ เช่น การติดตามข้อมูลพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเรา 

  • ความเป็นส่วนตัวในที่ทำงาน

ประชาชนมีสิทธิในความเป็นส่วนตัวในที่ทำงาน เช่น การส่งอีเมลส่วนตัวในบริษัท ผู้จ้างมีหน้าที่แจ้งให้ทราบถึงการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการสื่อสารในที่ทำงาน หากไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ให้ถือว่าพนักงานมีความเป็นส่วนตัวในการใช้อินเทอร์เน็ตในที่ทำงาน

 

ความรับผิดชอบในโลกออนไลน์

 

“อำนาจที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่” ประโยคยอดฮิตจากภาพยนตร์สไปเดอร์แมนสามารถประยุกต์ใช้กับพลเมืองดิจิทัลได้เป็นอย่างดี เมื่ออินเทอร์เน็ตมอบอำนาจอันยิ่งใหญ่ให้กับเรา เราก็ต้องรู้จักใช้มันอย่างมีความรับผิดชอบเช่นกัน 

ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ๆ กระตุ้นให้สังคมต้องมาถกเถียงถึงความรับผิดชอบ จริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีและผลกระทบของมัน ตัวอย่างเช่น สถาบันจริยธรรมคอมพิวเตอร์ได้บัญญัติจริยธรรมคอมพิวเตอร์ 10 ประการไว้ในปี 1992 เพื่อรับมือกับประเด็นจริยธรรมจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคนั้น ซึ่งหลายประเด็นยังคงทันสมัยมาจนถึงทุกวันนี้

 

 

สิทธิต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสังคมออนไลน์ที่ดี สิ่งที่เราไม่ต้องการเห็นในโลกจริงก็มักเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการในโลกไซเบอร์ด้วยเช่นกัน เช่น การพูดจาด้วยคำพูดรุนแรง การละเมิดสิทธิในผลงานผู้อื่น การขโมยตัวตนของผู้อื่น เราในฐานะพลเมืองมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว รวมถึงสนับสนุนให้ผู้อื่นมีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกัน

 

ความรับผิดชอบในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีมารยาท

อินเทอร์เน็ตช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างสะดวกง่ายดาย เช่น ตั้งกลุ่มไลน์สมาชิกคอนโดหรือหมู่บ้านไว้แลกเปลี่ยนข่าวสาร ใช้จีเมลในการส่งอีเมลระหว่างกัน หรือมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องบ้านเมืองในเว็บบอร์ดพันทิป อย่างไรก็ดี การสื่อสารที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและบางครั้งก็โดยนิรนาม อาจทำให้เกิดการสื่อสารที่ไร้มารยาทได้ง่าย

พลเมืองดิจิทัลควรตระหนักถึงมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต (netiquette) สื่อสารกับผู้อื่นอย่างสุภาพ คิดถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น และเป็นแบบอย่างที่ดีในโลกออนไลน์ ดังนี้

  • อย่ากระพือความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงการใช้ภาษารุนแรงและก้าวร้าว
  • หลีกเลี่ยงการประชดประชัน เราต้องเข้าใจว่าการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นไม่เห็นภาษากายและสีหน้าซึ่งช่วยในการสื่อสาร ดังนั้นการแสดงความเห็นเชิงประชดประชันอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย 
  • อย่าโกหก ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและไม่เสแสร้งปลอมตัวเป็นคนอื่น เว้นแต่กรณีที่จำเป็นต้องปกปิดอัตลักษณ์ 
  • ใช้อินเทอร์เน็ตโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น เช่น ไม่แชร์ข้อมูลส่วนตัวของเพื่อนในหน้าเฟสบุ๊ค ไม่ส่งต่ออีเมลส่วนตัวให้คนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • อย่าโพสต์หรือแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งของตนเองและผู้อื่นที่อาจนำภัยอันตรายมาได้ โดยเฉพาะกับคนไม่รู้จักและเว็บไซต์ที่ดูน่าสงสัยและไม่รองรับการเข้ารหัส เช่น ไม่แชร์แผนการท่องเที่ยวที่อาจทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีรู้ว่าเราจะไม่อยู่บ้านเวลาไหน 
  • ใช้อินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท เช่น ไม่ส่งข้อความหรือเล่นโทรศัพท์มือถือระหว่างที่สนทนากับผู้อื่นหรือขณะร่วมโต๊ะอาหาร หรือเรียนรู้กฎของชุมชนออนไลน์ที่เราสนใจก่อนเข้าร่วม 
  • อย่าโพสต์ความรู้สึกส่วนตัวเกี่ยวกับงานหรือความสัมพันธ์ หากต้องการสื่อสารในเรื่องที่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องมากๆ พยายามสื่อสารกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วยช่องทางที่มีความเป็นส่วนตัว
  • อย่าแชร์ข้อมูลหรือข่าวสารโดยไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อน โดยเฉพาะในกรณีที่อาจทำให้บุคคลหรือองค์กรใดเสื่อมเสียชื่อเสียง

 

 

 

ความรับผิดชอบในการใช้และอ้างอิงผลงานของผู้อื่น 

อินเทอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการเรียนรู้ แต่การที่อินเทอร์เน็ตช่วยให้เราเข้าถึง แชร์ รวมถึงคัดลอกผลงานของผู้อื่นได้ง่าย ไม่ได้แปลว่าเรามีสิทธิใช้ผลงานของผู้อื่นโดยไม่ต้องขออนุญาต 

ก่อนจะใช้ผลงานของผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบว่า ผลงานชิ้นนั้นยังติดลิขสิทธิ์หรือได้ตกเป็นของสาธารณะ (public domain) เนื่องจากความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้หมดลงแล้ว เป็นผลงานของรัฐบาลที่ใช้เงินสาธารณะสร้างขึ้นมา หรือผู้สร้างสรรค์เลือกที่จะมอบผลงานให้เป็นของสาธารณะ ในกรณีที่ติดลิขสิทธิ์ เราต้องตรวจสอบว่าการใช้งานนั้นถือเป็นการใช้อย่างเป็นธรรมหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ถือเป็นหน้าที่ของเราในการขออนุญาต ตัวอย่างกรณีที่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การนำผลงานทั้งหมดของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ บทความ ภาพ วิดีโอ เพลง กราฟิก โพสต์ความเห็น หรือผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ อีเมล หรือโซเชียลมีเดีย โดยไม่ได้รับอนุญาต 

นอกจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นปัญหาด้านกฎหมาย การขโมยผลงานของผู้อื่น (plagiarism) ก็ถือเป็นปัญหาเชิงจริยธรรมในแวดวงวิชาการ นักเรียน/นักศึกษา/นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น ไม่ว่าแหล่งที่มาจะมาจากในออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม เช่น ไม่นำคำพูด แนวคิด ข้อค้นพบในผลงานของผู้อื่นมาใช้โดยไม่อ้างอิงให้เหมาะสม 

โครงการคอมมอนเซนส์เอดูเคชั่น สรุป 5 ขั้นตอนในการใช้และอ้างอิงผลงานสร้างสรรค์อย่างรับผิดชอบ คือ 1) ตรวจสอบว่าใครเป็นเจ้าของผลงาน 2) ขออนุญาตก่อนใช้ 3) ให้เครดิตกับเจ้าของผลงาน 4) ซื้อสิทธิการใช้ (ถ้าจำเป็น) และ 5) ใช้อย่างมีความรับผิดชอบ8 

 

ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมาย

พลเมืองดิจิทัลที่ดีควรศึกษาว่ามีกฎหมายและข้อบังคับอะไรบ้างที่กำกับการใช้อินเทอร์เน็ตของเรา เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายกำกับดูแลเนื้อหาออนไลน์ กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงตระหนักถึงผลกระทบจากการละเมิดกฎหมายด้วย 

ข้อควรระวังด้านกฎหมายมีดังนี้

  • ไม่ขโมยอัตลักษณ์ออนไลน์
  • ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
  • ไม่ดาวน์โหลดเพลง ภาพยนตร์ หรือผลงานสร้างสรรค์ของผู้อื่นผ่านช่องทางที่ผิดกฎหมาย รวมถึงไม่เผยแพร่งานที่ติดลิขสิทธิ์ไปตามช่องทางที่ผิดกฎหมาย
  • อย่าสร้างหรือเผยแพร่มัลแวร์ ซอฟต์แวร์ เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นที่ขโมยข้อมูลสำคัญของผู้อื่นหรือทำลายระบบ
  • ไม่โพสต์หรือแชร์เนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย เช่น สื่อลามกอนาจารเด็ก ประทุษวาจา ข้อความหมิ่นประมาท
  • ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น การดักจับอีเมลของผู้อื่น หรือแอบขโมยรหัสผ่านเพื่อเข้าไปดูบัญชีเฟสบุ๊คของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

ความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยออนไลน์

อินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยความเสี่ยง เช่น อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามไซเบอร์ การขโมยอัตลักษณ์ออนไลน์ พลเมืองดิจิทัลจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงออนไลน์ อาทิเช่น

  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและอัปเดตให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสอบเวลาเปิดไฟล์แนบทางอีเมล และระมัดระวังก่อนจะกดคลิกลิงก์เชื่อมไปยังส่วนอื่นๆ
  • เปิดใช้การพิสูจน์ตัวตนสองระดับ
  • ติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชั่นสำหรับติดตามและล็อกโทรศัพท์มือถือระยะไกลในกรณีที่อุปกรณ์สูญหาย
  • สำรองข้อมูลไว้หลายแห่งเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
  • การตั้งล็อกหน้าจอบนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ด้วยรหัสผ่าน พินโค้ด ลายนิ้วมือ ฯลฯ
  • การเข้ารหัสป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก เช่น ยูเอสบีไดร์ฟ

 

ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง

วิถีชีวิตที่มีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นอาจบั่นทอนสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเรา เราต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเครื่องมือสื่อสารในยุคดิจิทัล และหาทางคุ้มครองตัวเองและผู้อื่นจากอันตรายเหล่านั้น เช่น โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ภาวะตาล้า การนั่งผิดท่า การเสพติดอินเทอร์เน็ต 

 

ความรับผิดชอบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

เราต้องตระหนักถึงความเสี่ยงจากการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์ การทำธุรกรรมออนไลน์เป็นเรื่องง่ายและสะดวกจนบ่อยครั้งเราไม่ได้ใคร่ครวญให้ดีก่อนทำ ดังนั้นก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมออนไลน์ต้องหาข้อมูลให้ดีและมั่นใจว่าปลอดภัย รวมถึงมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดหนี้ก้อนโตในอนาคต

 

พลเมืองดิจิทัล

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน

สมาชิกของโลกออนไลน์ คือ ทุกคนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโลกใบนี้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม พลเมืองดิจิทัลจึงต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม เห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น มีส่วนร่วม และมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลนั้น มีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ

1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง

2. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น

3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้อง และข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้

4. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ความสามารถในการบริหารเวลาในการใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกภายนอก

5. ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management) ความสามารถในการรับรู้ และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด

6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล ว่าจะหลงเหลือร่อยรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจพลลัพธ์ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ

7. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management) ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีทางออนไลน์ได้

8. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Quantum Computing
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

แนวโน้มใน ด้านบวก

-การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดูหนัง ฟังเพลงและเกมส์ออนไลน์

-การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง

-การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้

-การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)

-การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ

-การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)

แนวโน้มใน ด้านลบ
-ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา

-การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ

-การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีเสมือนจริง 

โลกเสมือนผ่านโลกจริง Augmented Reality

โลกเสมือนผ่านโลกจริง

Augmented Reality

เทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality Technology: AR)

          เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เทคโนโลยี AR” (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานโลก    ในความเป็นจริง และโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง

เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์และแบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง ซึ่งในทางเทคนิคแล้วภาพสัญลักษณ์ที่ใช้ จะนิยมเรียกว่า “Marker” (อ่านว่า มาร์คเกอร์) หรืออาจจะเรียกว่า “AR Code” ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา

หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง

ภาพนิ่ง9

แนวคิดหลักของเทคโนโลยีเสมือนจริง คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริง เข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคม คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะ แสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์มือถือ บนเครื่อง ฉายภาพ หรือบนอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ทันที ทั้งในลักษณะที่เป็นภาพ นิ่งสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบ ขึ้นกับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมาแบบใด โดยกระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่

REPORT THIS AD

• การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Marker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดและรูปแบบของ Marker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker การวิเคราะห์ภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทำงาน (Marker based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่างๆ ที่อยู่ใน ภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR)

• การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Marker เทียบกับกล้อง

• กระบวนการสร้างภาพสองมิติ จากโมเดลสามมิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่ง เชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง

องค์ประกอบของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย

ภาพนิ่ง10

  1. AR Code หรือตัว Marker ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุ
  2. Eye หรือ กล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ ใช้มองตำแหน่งของ AR Code แล้วส่งข้อมูลเข้า AR Engine
  3. AR Engine เป็นตัวส่งข้อมูลที่อ่านได้ผ่านเข้าซอฟต์แวร์หรือส่วนประมวลผล เพื่อแสดงเป็นภาพต่อไป
  4. Display หรือ จอแสดงผล เพื่อให้เห็นผลข้อมูลที่  AR Engine ส่งมาให้ในรูปแบบของภาพ หรือ วีดีโอ

หรืออีกวิธีหนึ่ง เราสามารถรวมกล้อง AR Engine และจอภาพ เข้าด้วยกันในอุปกรณ์เดียว เช่น โทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ

ภาพนิ่ง5

REPORT THIS AD

ภาพนิ่ง7

ภาพนิ่ง6

ภาพนิ่ง8

ระบบเสมือนเสริมบนโทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะหรือสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ถือเป็นจุดเปลี่ยนแนวคิดทางการตลาดของการโฆษณา เพราะด้วย ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile AR) ทำให้ผู้ใช้สามารถ รับข้อมูลหรือข่าวสารได้ทันทีตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์หรือ โปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ แบบที่ผู้ใช้สามารถพกพา ได้อย่างสะดวก

REPORT THIS AD

ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือจัดเป็นเทคโนโลยี เสมือนจริงที่ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้หน้าจอของโทรศัพท์ มือถือแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ โทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้ระบบเสมือนจริงได้ต้องมีคุณสมบัติของเครื่อง ดังนี้

• กล้องถ่ายรูป

• GPS ที่สามารถระบุพิกัดตำแหน่งและเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตได้

• เข็มทิศดิจิตอลในเครื่อง

สำหรับโทรศัพท์มือถือที่รองรับเทคโนโลยีนี้ได้มีหลายยี่ห้ออาทิ iPhone 3GS และมือถือที่มีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เช่น HTC G1, HTC HERO, HTC DROID เป็นต้น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง

จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือน จริงเข้ากับชีวิตประจำวัน เช่น

• การประยุกต์ใช้ทางด้านการศึกษา เช่น การทำเป็นหนังสือ 3 มิติ เรื่อง Dinosaur มีภาพกราฟฟิกไดโนเสาร์  พุ่งออกมาแบบ 3 มิติ ด้วยความน่าตื่นเต้น พร้อมหมุนดูรอบตัวได้เหมือนจริง ของ TK park

ภาพนิ่ง13

• การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสร้าง เครื่องบิน อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยบริษัท BMW ได้ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงมาช่วยในการผลิต โดยให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้การ ทำงานด้วยการใส่แว่นตาที่จะมีคำแนะนำและจำลองการทำงาน แสดงให้เห็นแต่ละขั้นตอนก่อนปฏิบัติจริงแบบ 3 มิติ �o ��H� ���สมือนจริง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เทคโนโลยี AR” (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานโลก    ในความเป็นจริง และโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง

REPORT THIS AD

ภาพนิ่ง14

เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์และแบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง ซึ่งในทางเทคนิคแล้วภาพสัญลักษณ์ที่ใช้ จะนิยมเรียกว่า “Marker” (อ่านว่า มาร์คเกอร์) หรืออาจจะเรียกว่า “AR Code” ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา

• การประยุกต์ใช้ทางด้านการแพทย์ เช่น การเรียบเรียง หลักการประยุกต์ใช้ภาพเสมือนจริงทางการแพทย์ โดยการเพิ่มตัว ต่อประสานระบบสัมผัสภาพ 3 มิติ เพื่อเพิ่มความสมจริงในการ รักษา และให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้เครื่องมือแพทย์รักษาหรือผ่าตัด ผู้ป่วยแบบไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยจริง มีการนำเทคโนโลยีเสมือน จริงจำลองการผ่าตัดผ่านระบบ ARI*SER โดยทางมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ Ganz ได้แปลงให้เป็นระบบจำลองการผ่าตัดตับเสมือนจริง ?� ��H� ���์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง

ภาพนิ่ง15

REPORT THIS AD

เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์และแบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง ซึ่งในทางเทคนิคแล้วภาพสัญลักษณ์ที่ใช้ จะนิยมเรียกว่า “Marker” (อ่านว่า มาร์คเกอร์) หรืออาจจะเรียกว่า “AR Code” ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา

• การประยุกต์ใช้ทางด้านธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงกับการซื้อขายทางการเงินด้วยเทคโนโลยี CYBERII โดย ระบบสามารถให้ผู้ใช้งานกำหนดบทบาทของตัวแทนจำหน่าย (Finance Dealer) ในสภาพแวดล้อมเสมือนที่สามารถเสนอราคา ในการซื้อขาย โดยใช้ลูกบอลสีเหลืองแสดงราคาซื้อและลูกบอลสี แดงแสดงราคาขาย ทำให้ผู้ใช้สามารถจำลองการซื้อขายทางการเงินได้เสมือนจริง ��; ��H� ���มจริงในการ รักษา และให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้เครื่องมือแพทย์รักษาหรือผ่าตัด ผู้ป่วยแบบไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยจริง มีการนำเทคโนโลยีเสมือน จริงจำลองการผ่าตัดผ่านระบบ ARI*SER โดยทางมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ Ganz ได้แปลงให้เป็นระบบจำลองการผ่าตัดตับเสมือนจริง

• การประยุกต์ใช้ทางด้านการโฆษณา เช่น โทรศัพท์มือถือซัมซุงนำเทคโนโลยี Mobile AR มาสร้างการรับรู้เพื่อให้ลูกค้า ได้ทราบถึงระบบปฏิบัติการใหม่บนมือถือ Samsung Wave และ ให้วูดดี้เป็นผู้นำเสนอวิธีการใช้งานผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ โดยลูกค้าสามารถใช้เว็บแคมและเครื่องพิมพ์ประกอบกับซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีภายใต้ระบบปฏิบัติการ BADA ของ Samsung เรียกใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เพื่อใช้งานตามต้องการ

• การประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยว เช่น การนำเทคโนโลยี เสมือนจริงไปใช้เพื่อแนะนำประเทศไทยในงาน “The World Exposition Shanghai China 2010” ภายใต้แนวคิด “Thinness: Sustainable Ways of Life” และได้นำเสนอนิทรรศการภายใน อาคารศาลาไทยแยกเป็น 3 ส่วน คือ 1.เรื่อง “จากต้นสายแหล่งกำเนิด: A Journey of Harmony” 2.เรื่อง “เกิดร้อยพันพลายวิถี: A Harmony of Different Tones” และ 3 เรื่อง “หลอม รวมชีวีสู่วิถีความเป็นไทย: A Harmony of Thais” ในแต่ละห้อง นิทรรศการจะนำเสนอเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่เกิดจากการ พัฒนาด้านต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง เช่น การฉายวิดีโอ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างพี่น้องของชาวไทยกับจีน โดยมียักษ์วัดโพธิ์ขยับตัวและพูด คุยกับตัวละครจีน / ���� lang=TH>อ่านว่า มาร์คเกอร์) หรืออาจจะเรียกว่า “AR Code” ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา

ภาพนิ่ง18

REPORT THIS AD

• การประยุกต์กับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น

บริษัท ชิเซโด้ นำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้ผ่านกระจก ดิจิตอลเพื่อจำลองการทดสอบในการแต่งหน้าว่าเหมาะกับลูกค้า หรือไม่ โดยระบบจะซ้อนภาพส่วนของการแต่งหน้าขึ้นไปบน ใบหน้าจริงที่ปรากฏบนหน้าจอในลักษณะของการเปรียบเทียบให้ เห็นทั้งก่อนแต่งหน้าและหลังแต่งหน้า ในการใช้งานจะให้ลูกค้านั่ง ลงตรงหน้าเครื่องแล้วให้กล้องสแกน จากนั้นระบบจะวิเคราะห์สี ผิว องค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนรูปใบหน้า เพื่อแนะนำว่าควร เลือกแต่งหน้าและเลือกใช้เครื่องสำอางใด โดยสามารถแสดงผลการแต่งหน้าได้ทันที และสามารถสั่งพิมพ์ภาพใบหน้าก่อนและหลังแต่งพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องใช้เพื่อเลือกซื้อตามรายการที่เลือกไว้

ภาพนิ่ง19

บริษัท Tissot ให้ลูกค้าสามารถลองสินค้าผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์ที่มีเว็บแคม โดยลูกค้าจะเลือกรหัสสินค้า      หรือรุ่นที่ ลูกค้าต้องการทำให้ลูกค้าได้ลองสินค้าเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี AR จนได้สินค้าที่ถูกใจก่อนสั่งซื้อ ��ห��1 ��H� ���งที่ปรากฏบนหน้าจอในลักษณะของการเปรียบเทียบให้ เห็นทั้งก่อนแต่งหน้าและหลังแต่งหน้า ในการใช้งานจะให้ลูกค้านั่ง ลงตรงหน้าเครื่องแล้วให้กล้องสแกน จากนั้นระบบจะวิเคราะห์สี ผิว องค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนรูปใบหน้า เพื่อแนะนำว่าควร เลือกแต่งหน้าและเลือกใช้เครื่องสำอางใด โดยสามารถแสดงผลการแต่งหน้าได้ทันที และสามารถสั่งพิมพ์ภาพใบหน้าก่อนและหลังแต่งพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องใช้เพื่อเลือกซื้อตามรายการที่เลือกไว้

สำหรับ Mobile AR มีการนำเสนอการแต่งบ้านด้วยมือ ถือจาก IKEA ที่ทำให้ลูกค้าเป็นสถาปนิกด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเสีย เงิน เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือแล้วเลือกรูปสินค้าในหมวด IKEA PS จากนั้นกดถ่ายรูป และเลื่อนตำแหน่งโทรศัพท์มือถือไปถ่ายในมุม ที่ต้องการวางเฟอร์นิเจอร์ จะเห็นมุมห้องที่มีเฟอร์นิเจอร์ตามที่ เลือกไว้ โดยสามารถบันทึกภาพและส่งต่อให้เพื่อนผ่าน MMS ได้ �อ�a ��H� ����ห้กล้องสแกน จากนั้นระบบจะวิเคราะห์สี ผิว องค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนรูปใบหน้า เพื่อแนะนำว่าควร เลือกแต่งหน้าและเลือกใช้เครื่องสำอางใด โดยสามารถแสดงผลการแต่งหน้าได้ทันที และสามารถสั่งพิมพ์ภาพใบหน้าก่อนและหลังแต่งพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องใช้เพื่อเลือกซื้อตามรายการที่เลือกไว้

REPORT THIS AD

แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในอนาคต

สำหรับแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ได้อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง “The Future of Internet III” ของ Pew Internet ที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบจากอินเทอร์เน็ตในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของ ชีวิตมนุษย์ในอนาคตปี 2020 ผ่านทางอีเมล์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ในช่วงวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ถึงวันที่3 มีนาคม ค.ศ. 2008 จากจำนวนทั้งหมด 1,196 คน แบ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญ 578 คน ที่ตอบแบบสอบถามผ่านทาง Facebook และ ผู้เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ 618 คนที่ตอบแบบสอบถามผ่านทางอีเมล์

นอกจากนี้ เทคโนโลยีเสมือนจริงยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนามากขึ้นควบคู่ไปกับเทคโนโลยี 4G หรือเทคโนโลยีเจนเนอเรชั่นที่ 4 (4th Generation) ซึ่งความรวดเร็วของเทคโนโลยีระบบ 4G (4th Generation)  ที่เป็นระบบเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงพิเศษสามารถส่งผ่านข้อมูลในความเร็วที่ประมาณ 20 – 40 เมกะไบต์ต่อวินาที (Mbps/Second) ทำให้ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดข้อมูลรูปแบบพิเศษที่เรียกว่า AR (Augmented Reality) รวมถึงข้อมูลในรูปธรรมดาอื่นๆ (ข้อมูลภาพ ภาพยนตร์ การประชุมหรือสัมมนาที่ต้องมีโต้ตอบ  (Real time)ได้อย่างสะดวก เพราะเทคโนโลยี 4G คือระบบการติดต่อ สื่อสารที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ จากคุณสมบัติเด่นๆ ของระบบ 4Gที่กล่าวมา นักการตลาดและองค์กรธุรกิจสามารถนำเทคโนโลยีระบบ 4G และ AR มาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารทำการตลาดและบริหารดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สำหรับองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค

สำหรับแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง ได้อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง “The Future of Internet III” ของ Pew Internet ที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบจากอินเทอร์เน็ตในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของ ชีวิตมนุษย์ในอนาคตปี 2020 ผ่านทางอีเมล์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ในช่วงวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ถึงวันที่3 มีนาคม ค.ศ. 2008 จากจำนวนทั้งหมด 1,196 คน แบ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญ 578 คน ที่ตอบแบบสอบถามผ่านทาง Facebook และ ผู้เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ 618 คนที่ตอบแบบสอบถามผ่านทางอีเมล์

 

 สุขภาพกับการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ๑ .เทคโนโลยีทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน               เทคโนโลยีทางส...