สุขภาพกับการใช้เทคโนโลยี
เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางสุขภาพหมายถึง การรวบรวมความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพใน การดูแล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายทั้งนี้เพื่อให้บุคคลหรือชุมชนมีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิต ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก
๑.๑คุณค่าของเทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพมีคุณค่าต่อวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในภาพรวม ดังนี้
๑.ด้านคุณภาพชีวิต ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนั้น ช่วยให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย
๒.ด้านประสิทธิภาพของงาน การนำเทคโนโลยีทางสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
๓.ด้านประสิทธิผลของผลผลิต เทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่วยให้การศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักวิชาการทางสุขภาพในหลากหลายสาขาวิชา สามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว
๔.ด้านความประหยัด การใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการทำงาน รวมถึงช่วยให้บุคคลสามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว
๑.๒ ประเภทของเทคโนโลยีทางสุขภาพ
๑.เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยสามารถแบ่งออกได้ ๕ ประเภท ดั้งนี้
๑.๑เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
๑.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร
๑.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา
๑.๔เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องมือแพทย์
๑.๕เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสุขภาพ
๒.เทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการสุขภาพ เป็นเทคโนโลยีเพื่อการให้บริการสุขภาพ
ซึ่งแบ่งออกได้ ๓ ประเภท ดังนี้
๒.๑ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจและรักษาโรค
๒.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับการป้องกันโรค
๒.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.เทคโนโลยีเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
๓.๑เทคโนโลยีการพิมพ์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
๓.๒เทคโนโลยีคมนาคมเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
๓.๓เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
๒.ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นประเด็นทางสุขภาพ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางสุขภาพได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราอย่างมาก โดยจะขอยกตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นทางสุขภาพมานำเสนอเป็นบางประเด็น ดังนี้
๒.๑ผลิตภัณฑ์ GMOs
ในร่างกายของคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทีรย์นั้น มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ เช่น ทำให้มีตาสีฟ้า ตาสีดำ เป็นต้น
ซึ่งหน่วยพันธุกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยีน(gene) โดยยีนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ DNA
๑.ประโยชน์ของ GMOs
ประโยชน์ของการตัดต่อพันธุกรรมมีหลายประการ ดังนี้
๑.ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความสามารถในการต้านแมลงและโรคได้ดีขึ้น
๒.ช่วยในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีคุณภาพผลผลิตที่พึ่งประสงค์
๓.นำไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์สัตว์
๔.นำไปใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีคุณสมบัติพิเศษ
๒.ข้อควรระวังเกี่ยวกับ GMOs เทคโนโลยีทุกอย่างนั้น เมื่อมีประโยชน์ก็มักจะมีโทษด้วยเสมอ พันธุวิศวกรรมที่นำมาใช้ตกแต่งสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็เช่นกันอาจมีผลกระทบทางลบด้วยหากกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
๓.การควบคุมผลิตภัณฑ์ GMOs ดังนี้
๑.ให้มีการจดทะเบียน
๒.การปล่อย GMOs เข้าสู่สิ่งแวดล้อม
๓.การกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
๔.การทำการตลาดผลิตภัณฑ์จาก GMOs ที่ใช้เป็นอาหารต้องผ่านการดูแล
๒.๒คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
สังคมไทยในสมัยปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
แนวทางการป้องกันกลุ่มเสี่ยง
๑.ให้ความเอาใจใส่
๒.แบ่งเวลาสำหรับพูดคุยกันในแต่ละวัน
๓.ให้คำแนะนำด้วยความเข้าอกเข้าใจ แสดงออกถึงความห่วงใย
๔.สอดแทรกความรู้ถึงผลกระทบจากการใช้
๕.กระตุ้นให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมภายในครอบครัวมากขึ้น
๖.ส่งเสริมให้เด็กมีงานอดิเรกทำ
๗.ศึกษาวิธีการใช้สื่อต่างๆที่ปลอดภัยและเหมาะสม
๓.ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
จากความเจริญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้ามา ตามลำดับ ซึ่งช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิตได้สุขสบายมากขึ้น เดินทางและสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว มีเครื่องมือทันสมัยต่างๆ ใช้อำนวยความสะดวกแต่ขณะเดียวกันเราก็อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมลงก่อให้เกิดมลพิษ ดังนี้
๑.มลพิษทางอากาศ
๒.ปัญหาขยะมูลฝอย
๓.ภาวะมลพิษทางดิน
๔.ปัญหามลพิษทางน้ำ
๔.การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางสุขภาพจะมีคุณค่าในการช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ตาม แต่หากมนุษย์ไม่รู้จักตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพให้เหมาะสมและถูกต้อง อันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ จึงควรมีหลัก ดังนี้
๑.ศึกษาข้อมูลของเทคโนโลยีทางสุขภาพต่างๆ
๒.ปฏิบัติตามขั้นตอนในการใช้อย่างถูกต้อง
๓.คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการนำเทคโนโลยีทางสุขภาพไปใช้
๔.พิจารณาถึงคุณภาพของการผลิตและการนำไปใช้งาน
๕.คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ
๖.พิจารณาถึงราคา ค่าใช้จ่าย
๗.เทคโนโลยีนั้น ควรมีความสะดวกและวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
๘.ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางสุขภาพด้วยความระมัดระวัง
๙.ควรคำนึงถึงคุณธรรมและความถูกต้องเหมาะสมในการใช้
๕.ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ
วิวัฒนาการทางการแพทย์ของไทยนั้น มีการพัฒนามาตามลำดับ นับจากการใช้การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่สมัยอดีตในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและเมื่อมีการเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก ก็ได้มีการนำการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย
๕.๑ระบบการแพทย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในประเทศไทยปัจจุบันนั้น เมื่อกล่าวถึงระบบการแพทย์ จะมีการจำแนกออกได้เป็น ๓ ประเภทคือ การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์กระแสหลัก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์ทางเลือก
๕.๒หลักในการพิจารณาเลือกใช้บริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม
จากการจำแนกประเภทของบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่พบในประเทศไทยออกเป็น
๓ ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั้น พบว่ามีผลกระทบต่อรูปแบบของการเลือกใช้บริการและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม การแพทย์ควรยึดหลักสำคัญ ๔ ประการดังนี้
๑.หลักของความน่าเชื่อถือ
๒.หลักของความปลอดภัย
๓.หลักของการมีประสิทธิผล
๔.หลักของความคุ้มค่า
1. สุขภาพเคลื่อนที่ได้ (Mobile Health) ภาคส่วนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ นำเสนอคำสัญญาให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากที่สุด มันไม่ได้เกินเลยที่จะกล่าวว่าการถือครองของอุปกรณ์ที่มีแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพในมือถือประเภทสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต ของบรรดาแพทย์และผู้บริโภคเป็นดั่งกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง จากการสำรวจของ Pricewaterhouse Coopers (PwC) และจากแพทย์ทั้งในประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก โดยคร่าว ๆ ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทำนายว่าภายในสามปีข้างหน้าสุขภาพแบบเคลื่อนที่ได้นี้จะช่วยปรับปรุงความสะดวกสบาย (ร้อยละ 46) มีต้นทุนลดลง (ร้อยละ 52) และคุณภาพ (ร้อยละ 48) ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ
2. บันทึกเวชระเบียนส่วนตัว (Personal health records) จะมาในรูปแบบของ เวชระเบียนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เครื่องมือนี้จะเชื่อมเวชระเบียนส่วนตัวเข้ากับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนกลาง ยกตัวอย่างข้อมูลที่จะมีก็คือ สถิติจำนวนประชากร อาการแพ้ต่าง ๆ ยา สัญญาณการเจ็บป่วย ประวัติครอบครัวและสังคม กระบวนการ การทดสอบจากห้องทดลอง และแผนการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น
3. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบดูแลรักษาสุขภาพใหญ่ ๆ หลายแห่ง ได้สร้างสัมพันธ์กับบริษัทให้บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อจัดหาให้บริการแก่แพทย์ในเรื่องโทรศัพท์และการให้คำปรึกษาผ่านระบบวิดีโอ
4. เหล่าผู้ให้บริการจัดทำเวชระเบียนอิเลกทรอนิกส์ จะประสบกับภาวะที่ต้องอยู่ให้ได้ในภาวะ การแข่งขันทางการตลาดที่สูง ผู้ให้บริการที่กระโจนลงไปเล่นในธุรกิจนี้เร็วเกินไป และไม่สามารถให้บริการ ตามที่ได้สัญญาไว้ ก็จะประสบกับความไม่แน่นอนทางธุรกิจ กลับกันสำหรับบริษัทที่อยู่รอดได้ก็จะพัฒนาต่อไปได้ และในที่สุดก็จะปรับปรุงให้บริการการดูแลแก่ผู้ป่วย
5. วิเคราะห์วิทยาด้านการแพทย์ (Clinical Analytics) ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ตามไม่ทันวิเคราะห์วิทยาด้านการแพทย์ที่เป็นสาระหนัก ๆ หลาย ๆ ระบบสามารถแพร่กระจายรายงานที่ง่าย ๆ แต่มันไม่เพียงพอที่จะตอบรับกับอุปสงค์ของผู้ให้บริการเพื่อให้ตอบโจทย์กฎข้อบังคับของรัฐบาล ในเรื่องความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันและผลงานด้านการแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น